วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์



1.             ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง  จะต้องไม่กล่าวคำทีเป็นเท็จ มีมั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ

2.     - สุจริต คือ ประพฤติชอบตามคลองธรรม ประพฤติด้วยตั้งใจดี ประพฤติซื่อตรงประวัติและวิวัฒนาการ
- ซื่อตรง คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น เขาเป็นคนซื่อตรง
- คุณธรรม คือ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม 
- อดกลั่น คือ  มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
3.         ประโยชน์ของความซื่อสัตย์
การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
          4.         คุณค่าของความซื่อสัตย์
ความรู้จักคุณค่า ความมีเกียรติ และความซื่อสัตย์ ซึ่งอาจจะหมายถึง จิตใต้สำนึก และพฤติกรรมนั่นเอง จิตใต้สำนึกของคนที่มี self-esteem จะต้องรู้จักบาป บุญคุณโทษ รู้สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี ความสื่อสัตย์ ความมีเกียรติ ส่วนพฤติกรรมของ self-esteem มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา เชื่อมั่นในความคิด และความสามารถ ของตัวเอง สามารถเลือกวิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง
         
         6.  การหาสาระข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตหรือดูข่าวสารทางโทรทัศน์เรื่องที่เราสนใจ เราก็อาจนำข่าวสารที่เราได้รับหรือได้อ่านมานำไปบอกกล่าวหรือเล่าให้เพื่อนและคนรู้จักฟังโดยเล่าเหตุการณ์ที่เราได้อ่านหรือดูมาจริงๆ ไม่มีการเสริมหรือเติมแต่งเรื่องนั้น
        
        8.  - เพลง ความซื่อสัตย์ ของ Bodyslam
เนื้อหาจะประมาณว่า ผู้ชายยังรอคนรักเขาอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะนานแค่ไหนยังรักคนรักของเขาแค่คนเดียวและไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนใจไปรักคนอื่น
              - เพลงจากนี้ไปจนนิรันดร์ ของ จิรากร
เนื้อหาจะประมาณว่า จากเมื่อก่อนเขาไม่เคยที่จะรู้เลยว่าชีวิตของคนเรามันดียังไงแต่เมื่อมาเจอเธอคนนี้แค่ครั้งเดียว เธอคนนี้ก็ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเป็นคนเฉยชาเขาก็หวั่นไหวทุกครั้งเมื่ออยู่ใกล้เธอและเมื่อได้เธอมาอยู่เคียงข้างเขา เขาจึงให้สัญญากับเธอคนนี้ว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเธอก็แล้วแต่เขาจะไม่มีวันหายไป จะคอยดูแลเธอเมื่อเธอล้ม จะคอยเป็นลมเมื่อเธอร้อนใจ
             - เพลงลูกอม ของ วัชราวลี
เนื้อเพลงจะประมาณว่า เรายังมีกันเสมอไม่ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นจะรักแค่เธอจะซื่อสัตย์ต่อเธอและเขาสัญญาจะดูแลเธอจากนี้ตลอดไป
          9. นิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะ
                - เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กคนหนึ่งทำหน้าที่ต้อนแกะออกไปกินหญ้าทุกๆ เช้า มีอยู่วันหนึ่งเขารุ้สึกเบื่อเลยหาอะไรสนุกๆ ทำเล่นเขาจึงแกล้งตะโกนออกมาว่า หมาป่าจะมากินแกะแล้วเพื่อให้คนที่อยู่แถวนั้นวิ่งกันเขาทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง จนมีอยู่วันหนึ่งหมาป่าได้มากินลูกแกะที่เค้าต้อนออกไปกินหญ้าจริงๆ เขาได้ร้องตะโกนออกแต่ไม่มีใครช่วยเขาเลยเพราะทุกคนนึกว่าเด็กนั้นโกหาอีกตามเคย เด็กคนนั้นจึงเสียลูกแกะไปทั้งฝูงและนั่งร้องไห้โดยที่ไม่มีใครช่วยเหลือ
          10. -  ไม่พูดคำโกหกหรือสร้างเรื่องขึ้นมาทั้งที่ไม่เป็นความจริง
      -  ซื่อสัตย์กับการเรียน เช่น ไม่ลอกเพื่อนเวลาสอบหรือเวลาที่อาจารย์ให้การบ้านมา
     -   รู้จักเสียสละ เช่น เมื่อเราขึ้นรถเมล์เราเจอคนแก่ เราก็ควรลุกขึ้นแล้วให้คนแก่นั่ง
     -   ไม่ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ผิด เช่น ไม่เห็นประโยชน์ส่วนอื่นมากกว่าส่วนรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น